วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ออกภาคสนามรวบรวมแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (รายงานครั้งที่ 3)


14 .. 55
                -วางแผนการลงพื้นที่จริง
       -ทำเอกสาร
15 .. 55
                นัดเจอกันตอน 13.00 . และเริ่มออกเดินทางไปยัง ต.อ่างศิลา จ.ชลบุรี ทำการสำรวจพื้นที่โดยรอบ ณ ตลาดเก่าอ่างศิลา พบว่ามีร้านค้าอยู่ปะปลาย จากที่สำรวจได้มีแจงลอน ไอติมหลอดหรือไอติมแข็งคารู ของฝากอ่างศิลา ปลาแดดเดียว ห่อหมก ขนมโบราณต่างๆในขวดโหล เช่น ปั้นสิบ ขนมข้าวตู ครองแครง เป็นต้น มีร้านอาหาร ที่ขึ้นชื่อน่าจะร้าน ออส่วน นอกจากนี้ยังมีของแห้งต่างๆ และที่สำคัญของที่นี่ คือ ครกหินอ่างศิลานั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของอ่างศิลาเลยทีเดียว
                จากการสำรวจพื้นที่ตลาดเก่าอ่างศิลา เราก็ลองอัดวีดิโอ เพื่อหาแนวในการทำวีดิโอ แต่เนื่องจากคนน้อย จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน ว่าจะไปป่าชายเลนก่อน แล้วหลังจากกลับมาจากป่าชายเลน เราจะมาดูตลาดเก่าอ่างศิลาอีกรอบหนึ่ง แล้วพวกเราก็ออกเดินทางไปยังป่าชายเลน ที่ป่าชายเลนพอมีคนอยู่บ้าง แต่ช่วงนี้น้ำขึ้น สอบถามผู้ดูแลพื้นที่ ได้คำตอบว่า น้ำขึ้นไว กว่าจะลงก็มืด พวกเราก็เลือกไม่ได้ จึงดำเนินการถ่ายทำ ตามบทที่วางแผนไว้ 
หลังจากถ่ายทำที่ป่าชายเลนเสร็จ เราก็เดินทางมาที่ตลาดเก่าอ่างศิลาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้หนักกว่าเก่า ชาวอ่างศิลาเริ่มเก็บของกันแล้ว สอบถามป้าแม่ค้าบอกว่า “จะมีมาขายช่วงเทศกาลนะ คนจะเยอะ ตอนนี้ก็มีขายอยู่ที่สะพานปลาโน่นนะ” กลุ่มตะลอนไม่มีจุดหมายจึงวางแผนกันใหม่ว่าจะเปลี่ยนสถานที่เป็นสะพานปลาอ่างศิลา และก็ได้ลงพื้นที่จริง เพื่อทำการสำรวจข้าวของและผู้คน หลังจากนั้น โทรปรึกษาอ.อุทิศ อ.ประจำวิชา การใช้แหล่งทรัพยากร ที่ปรึกษาของพวกเรา ได้แนวคิดมาว่า ทำเป็นวิถีชีวิตของชาวอ่างศิลา โดยเริ่มจากถิ่นกำเนิด ตลาดเก่าอ่างศิลา ซึ่งบริเวณนี้ก็มีตึกอยู่ตึกหนึ่งสีแดง นั่นก็คือ ตึกแดง และมาจบลงตรงที่วิถีชีวิตของชาวอ่างศิลา ณ สะพานปลาอ่างศิลา พวกเราจึงกลับมาวางแผนใหม่ และเริ่มปฏิบัติในสัปดาห์หน้า
19 .. 55
                -วางแผนการถ่ายทำ ณ อ่างศิลา เช่น เขียนบท วางตัวพิธีกร
                - ดำเนินการยืมกล้องวีดิโอ เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
22 .. 55
                ลงพื้นที่จริง โดยนัดเจอกันในเวลา 14.30 . ซึ่งเดินทางไปยังตลาดเก่าอ่างศิลาก่อน เพื่อถ่ายทำเรื่องราวในอดีต คือ ตลาดเก่าอ่างศิลา และตึกแดงหรือตึกราชินี หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังสะพานปลาอ่างศิลา ผู้คนเยอะแยะมากมาย ทั้งพ่อค้าแม่ขาย ผู้คนทั้งในและนอก เราเริ่มดำเนินรายงานถ่ายทำช่วงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตของชาวอ่างศิลา ตั้งแต่หน้าตลาดถึงท้ายตลาด แล้วพวกเราก็เดินทางกลับ

สรุปความคืบหน้าของงาน
                ได้ถ่ายทำเสร็จแล้วทั้งสองสถานที่ ทั้งป่าชายเลน วิถีชีวิตของชาวอ่างศิลา ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ตลาดเก่าอ่างศิลา ตึกแดงหรือตึกราชินี และปิดท้ายด้วย สะพานปลาอ่างศิลา โดยหลังจากนี้คือการตัดต่อ และใส่เสียงบรรยายเพิ่มเติม  นอกจากนี้ในส่วนของสื่อ CAI ได้ดำเนินการในส่วนของการตั้งคำถามในแบบทดสอบทั้งก่อน-หลังเรียน พร้อมทั้งออกแบบรูปแบบของสื่อ CAI
สรุปปัญหา
1.             ความพร้อมของอุปกรณ์ในการถ่ายทำ
         2.             สถานที่ที่จะถ่ายทำไม่พร้อม

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ออกภาคสนามรวบรวมแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ และนิทรรศการ(รายงานครั้งที่ 2)


จากวาระการประชุมที่วางไว้ในครั้งที่ 1

            - รวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่ง
                       แหล่งข้อมูล

                       ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน
                            - ชุมชนคนรักชลบุรี.(2555).ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน จ. ชลบุรี.
                              สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555 เข้าถึงได้จาก http://www.chumchonburi.com/buri/node/1300
                                     - อึ่งอ่าง.(2551).ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนเชิงนิเวศ ชลบุรี.สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555
                              เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=247647                       
                      ตลาดเก่าอ่างศิลา
                           - หมูหิน.ตลาดเก่าอ่างศิลา133 ปี.สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555
                      เข้าถึงได้จาก http://moohin.com/trips/chonburi/marketangsila
                           - Countrygirl.(2555).เปิดตำนานตลาดเก่าอ่างศิลา2419.สืบค้นเมื่อ 27   
                      พฤศจิกายน 2555 เข้าถึงได้จาก     
                      http://www.oknation.net/blog/countrygirl/2012/04/27/entry-1

            - วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา กำหนดไว้ในวันที่ 2 ธ.ค. – 12 ธ.ค. 55

            - วางแผนในขั้นต่อไป เช่น เขียนบท ออกแบบสื่อ ลงพื้นที่จริง เป็นต้น



สรุปประชุมการเตรียมการของกลุ่ม "ตะลอนไม่มีจุดหมาย"


















วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานสัปดาห์ที่ 6 ออกภาคสนามรวบรวมแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ และนิทรรศการ


27 พฤศจิกายน 2555

ชื่อกลุ่ม "ตะลอนไม่มีจุดหมาย"

1. ทำการแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน มีสมาชิก ดังนี้
          1. 53040485 นายณัฐวุฒิ สาบุญ
          2. 53040524 นางสาวเสาวภาคย์ สำอาง
          3. 53040901 นางสาววนิดา จุลพรหม
          4. 53041262 นางสาวกัญญารัตน์ บ่อแก้ว
          5. 53041268 นางสาวจุฑากนก เมืองชล
          6. 53041813 MR.XIONG TAO


2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ใน อ.เมือง , อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 2 แหล่งคือ

          2.1 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน จ. ชลบุรี เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ


          ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดและผืนสุดท้ายของชลบุรี มีเนื้อที่ 300 ไร่ เปิดดำเนินการโดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ซึ่งอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมดำ แสมขาว โปรงแดง โปรงขาว ลำพูน และพืชอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแครง ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลานวลจันทร์ ปลากะพงขาว ปลาตีน และนกอีกนานาชนิด

          2.2 ตลาดเก่าอ่างศิลา เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่


          ตลาดเก่าอ่างศิลา133 ปี ได้แบ่งออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วยกัน
โซนที่ 1 เข้าทางวัดอ่างศิลา ชมความมหัศจรรย์วัด 2 โบสถ์ วัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 309 ปี ชมแหล่งประวัติศาสตร์ศิลปกรรมท้องถิ่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ใช้เทคนิคการตัดเส้นที่ดีและสวนที่สุดในประเทศไทย มณฑปและรอยพระพุทธบาท เจดีย์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย นมัสการหลวงพ่อหิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอ่างศิลา วิหารท่านเจ้าคุณพระ วิสุทธิสมาจาร
โซนที่ 2 บริเวณพระตำหนักมหาราช ท่านจะได้ชมพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ นิทรรศการภาพเก่าเล่าขานชมตลาดเก่าอ่างศิลา133 ปี ศาลเจ้าปุนเฒ่ากง และศาลเจ้าปุนเฒ่าม่า เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารและขนมไทย อาหารทะเลสด
โซนที่ 3 ชมตลาดเก่าอ่างศิลา133 ปี ศาลเจ้าปุนเฒ่ากง และศาลเจ้าปุนเฒ่าม่า เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารและขนมไทย อาหารทะเลสด
โซนที่ 4 ชมศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติ ชมวังค้างคาว ฟาร์มหอยบนสะพานที่ทอดยาวไปในทะเลกว่า 10 กิโลเมตร

           สินค้าที่นำมาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นสินค้าบริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูป ขนมหน้าถั่ว ขนมครก ทอดมัน ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ข้าวต้มปลา ห่อหมก หมึกย่าง ปูนึ่ง กั้งดองน้ำปลา แมงกระพรุนลวกจิ้ม ขนมเทียนสบัดงา ขนมข้าวตอก ขนมข้าวตู น้ำแข็งกด ฯลฯ มีสินค้าอุปโภคบ้าง เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักสาน ครกหิน

3. ความคืบหน้า

           ในสัปดาห์นี้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก จึงมีการแบ่งงานกัน และคิดว่าจะทำศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน จ. ชลบุรีเป็นสื่อ CAI และตลาดเก่าอ่างศิลาเป็นสื่อ VDO สมาชิกในกลุ่มทยอยเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ทั้ง 2 แหล่ง

4. วาระการประชุมครั้งหน้า

            - รวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่ง
            - วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา
            - วางแผนในขั้นต่อไป เช่น เขียนบท ออกแบบสื่อ ลงพื้นที่จริง เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกเรื่องราว จากการศึกษานอกสถานที่ 2

20 พฤศจิกายน 2555

ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก


     ป้ายทางเข้าก่อนสัมผัสอารยธรรมของเมืองภาคตะวันออก ที่รวบรวมวิถีชีวิตตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์บนดินแดนบูรพาทิศ

     ภายในหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกแห่งนี้ จะประกอบด้วย

          1. สัมผัสอารยธรรม....ของเมืองภาคตะวันออก
           มีการนำเสนอลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และภาพรวมของภาคตะวันออกในปัจจุบันทั้งสภาพความเป็นอยู่ และวิถีการทำกินของชุมชน การพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่และชุมชนในภาคตะวันออก มีความหมายสืบเนื่องทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี เขมรโบราณ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์



          2. แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
           นำเสนอแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญในฐานะที่แสดง ถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเล ที่สะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

          3. แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
           เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ ที่มีอายุถึง ๔,๕๐๐ - ๔๐๐๐ ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย


           4. แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี  จังหวัดชลบุรี
           เป็นแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์ อายุ ๔,๕๐๐ - ๔๐๐๐ ปี มาแล้วซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี


          5.  เมืองโบราณที่สำคัญในยุคประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก
           นำเสนอเรื่องราวของเมืองสำคัญ ได้แก่ เมือง เพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรี เมืองพญาแร่ จังหวัดชลบุรี

           6. วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม บนแผ่นดินภาคตะวันออก ในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ
          นำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมภายนอกทั้งจากอินเดีย เขมรโบราณ และดินแดนโพ้นทะเลที่เข้ามามีอิทธิพล บนผืนดินภาคตะวันออก และยังคงปรากฏร่องรอยหลักฐานจนถึงปัจจุบัน

           7. อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
          นำเสนอเรื่องราวของอิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมทั้งพุทธ พราหมณ์ และฮินดู ที่เข้ามามีบทบาทในเมืองศรีมโหสถ ซึ่งปรากฏเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองโบราณสำคัยในสมัยวัฒนธรรม ทวารวดี ซึ่งพัฒนาการมาจาก สถานีการค้าสำคัญที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ถึงสมัยทวารวดี

            8. ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก
           นำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนแผ่นดินภาคตะวันออก ได้แก่ คนชอง คนจีน คนญวน คนลาว และไทยมุสลิม

            9. ภาพจิตกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า
              นำเสนอภาพจิตกรรมฝาผนังภายในวัดริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์ของงานฝีมือช่างท้องถิ่น และสะท้อนถึงภาพสังคม วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน

ความรู้ที่ได้จากการศึกษานอกสถานที่ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก

- ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก ได้แก่ คนชอง คนจีน คนญวน คนลาว และไทยมุสลิม

- ส่วนต่างๆ ที่ให้องค์ความรู้ของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกมี 9 ส่วนด้วยกัน คือ สัมผัสอารยธรรม....ของเมืองภาคตะวันออก , แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก , แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี , แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี  จังหวัดชลบุรี , เมืองโบราณที่สำคัญในยุคประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก , วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม บนแผ่นดินภาคตะวันออก ในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศ , อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ , ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก และภาพจิตกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า

- หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มีสื่่อวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และมีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้

     1. วัสดุกราฟิกประเภทแผนที่โดย เป็นแผนที่แสดงโบราณสถานสำคัญ
บริเวณเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และแผนผังภายในหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
     2. ตู้อัตรทัศน์แสดงวิถีชีวิตของสมัยก่อน
     3. วัสดุสามมิติแสดงแหล่งอิทธิพลความเชื่อ และศาสนาในเมืองโบราณศรีมหาโพธิ์
     4. รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง คนสำคัญในสมัยก่อน เช่น ลุงทอง ตาบุญ น้าสอน เป็นต้น
     5. รูปภาพ แสดงวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน

บันทึกเรื่องราว จากการศึกษานอกสถานที่

20 พฤศจิกายน 2555

ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี


     เริ่มต้นที่บริเวณทางเข้าของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุดแรกจะพบกับที่จำหน่ายบัตรเข้าชม อัตราการเข้าชมมีดังนี้

                                   ชาวไทย
                                                เด็ก     30    บาท    ผู้ใหญ่   60   บาท

                                   ชาวต่างชาติ
                                                 เด็ก     100    บาท    ผู้ใหญ่   180   บาท

     ภายในพิพิธภัณฑ์จะประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน แบ่งเป็น

ชั้น 1 จะเป็นตู้ปลา และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเลในเขตน่านน้ำไทย โดยแต่ละตู้จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด มีชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสต์บอกไว้ที่หน้าตู้
ชั้น 2 จะจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการเก็บด้วยวิธีต่างๆเช่น สตั๊ฟแห้ง ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน บอร์ดให้ความรู้ระบบนิเวศน์ในทะเล พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย

      โดยบริเวณภายนอกสถาบัน จะมีการแสดงโครงกระดูกวาฬแกลบ ที่ตายในเขตน่านน้ำไทย

     ชั้นแรก มีการแสดงสัตว์อาศัยบริเวณชายฝั่งที่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เช่น แมงดาทะเล, ปลิงทะเล, หอยเม่น, ดาวทะเล, ปูเสฉวน, ดอกไม้ทะเล เป็นต้น

ต่อมาจึงเป็นส่วนของปลาในแนวปะการังซึ่งอาศัยอยู่อย่างเกื้อกูลกัน เช่น ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล เป็นต้น

ต่อมาจึงเป็นส่วนของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่มีพิษ และปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและบ่อฉลาม โดยเฉพาะในส่วนของปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรนี้ถือได้ว่าเป็นจุดสนใจของสถาบันแห่งนี้มาตลอด เพราะมีการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่มีความจุน้ำถึง 200 ตัน ที่ใช้ความหนาของกระจกถึงหนึ่งคืบ เช่น ปลาหมอทะเล, ปลาฉลามครีบดำ
       


ชั้น 2 ชั้นบน จะจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการเก็บด้วยวิธีต่างๆเช่น สตั๊ฟแห้ง ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน บอร์ดให้ความรู้ระบบนิเวศน์ในทะเล พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย

ความรู้ที่ได้จากการศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

- ราชา และราชินีแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม และ ทากทะเล หรือทากเปลือย

- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบเพราะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ส่วนต่างๆ ที่ให้องค์ความรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนจัดแสดงสิ่งมีชีวิตในทะเล และอีกส่วนจะจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการเก็บด้วยวิธีต่างๆ

- เวลาเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์มีช่วง 08.30-17.00 น.

- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และมีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้

   1. ประสบการณ์ตรง การได้ชมสัตว์น้ำและการสาธิตการให้อาหาร ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
   2. ประสบการณ์จำลอง การใช้ปะการังเทียม ต้นไม้เทียม ใช้หินเทียมเป็นในการจัดแสดงสัตว์น้ำเค็ม
   3. การสาธิต สาธิตการให้อาหารปลาในตู้ปลาใหญ่
   4. การศึกษานอกสถานที่ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาและการจัดแสดงสัตว์น้ำเค็ม
ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
   5. นิทรรศการ บอร์ดนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำเค็มต่างๆ
   6. โทรทัศน์ วีดิทัศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์น้ำเค็ม
   7. ภาพนิ่ง ภาพนิ่งแสดงรูปของปลา และชื่อของปลาต่างๆ
   8. ทัศนสัญลักษณ์ แผนผังตู้จัดแสดงสัตว์น้ำ
   9. วจนสัญลักษณ์ วิทยากรบรรยายความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำเค็มโดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

กิจกรรมครั้งที่ 2

1. หลังศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้นิสิตทำกิจกรรมดังนี้ 
     1.1 จากแหล่งการเรียนรู้ 31 แห่ง ให้แบ่งประเภทของแหล่งการ เรียนรู้ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ/อาคารสถานที่/บุคคล/วิธีการ
แหล่งการเรียนรู้
ทรัพยากรธรรมชาติ
อาคารสถานที่
บุคคล
วิธีการ
1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

/


2. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

/


3. สวนสัตว์เชียงใหม่

/


4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

/


5. ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อย เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

/


6. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร

/


7. พระธาตุเรืองรอง

/


8. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

/


9. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

/


10. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสารคาม

/


11. สวนสัตว์นครราชสีมา

/


12. ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
ฉะเชิงเทรา

/


13. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองราชบุรี

/


14. พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

/


15. พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

/


16. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.)

/


17. เมืองโบราณ

/


18. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

/


19. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

/


20. หอศิลปหาวิทยาลัยกรุงเทพ

/


21. หอศิลปวิทยนิทรรศน์

/


22. สวนสัตว์ดุสิต

/


23. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

/


24. ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

/


25. หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

/


26. ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม วัดญาณสังวรารามสรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำรัส

/


27. ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
นครศรีธรรมราช

/


28. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”

/


29. สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน

/


30. สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

/


31. สวนสัตว์สงขลา

/



     1.2 จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง 31 แหล่ง เลือกมา 1 แหล่ง คือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี  จังหวัดพิษณุโลก

            - องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้: วิถีชีวิตของชาวโซ่งจังหวัดพิษณุโลกและเมืองพิษณุโลกในอดีต
            - กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก: เยาวชนบุคคลทั่วไปทั้งไทยและต่างชาติ
            - วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้: วิธีการสาธิตพร้อมบรรยาย, วิธีการลงมือปฏิบัติ
            - รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ: รูปแบบนิทรรศการ, บรรยาย, รูปภาพ, แบบจำลอง
            - กลุ่มเป้าหมายคือเด็กเยาวชนทีกำลังชอบลองผิดลองถูกได้สัมผัสของจริงจนเกิดการเรียนรู้
            - สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบนอกระบบตามอัธยาศัยได้หรือไม่อย่างไร : เชื่อมโยง
กับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยโดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่องตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา

            แหล่งอ้างอิง : http://sawasdee-padriew.com/board/index.php?topic=1209.0



2. หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้ยกตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล ดังนี้
     2.1  จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณเขตต์ หรือที่ชาวพิษณุโลกเรียกว่า "ลุงจ่า"

     องค์ความรู้ที่ได้ :  คุณค่าของเครื่องมือเครื่องใช้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงวิธีการปั้นหล่อพระพุทธรูป
     รางวัลที่ได้รับ : 1.ได้รับการยกย่องว่าเป็น "เพชรน้ำเอกแห่งวงการช่างศิลป์" ต่อมา ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาช่างฝีมือ แขนงช่างหล่อ
                                 2.ได้รับยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๖ 
                                 3. ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานปริญญาคุรุศาสตร์บัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศึกษา ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลป และได้รับเครื่องหมายประกาศเกียรติคุณสาขาต่างๆ มากกว่า ๑๐ เหรียญ
       จุดเด่น :  จ่าทวี เป็นผู้ที่ตระหนักในคุณค่าของเครื่องมือเครื่องใช้ทุกชิ้นที่พบ โดยตลอดชีวิตได้พยายามรวบรวม ขอแบ่งปัน และขอแลกซื้อสิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้นมาเรื่อยๆ โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวอีกมากเพื่อสร้าง และดำเนินงานในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ ที่ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี”

 แหล่งอ้างอิง : http://www.pitlokcenter.com/guru/content_view.php?n_id=45&img=3&action=view

2.2 ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ 

     องค์ความรู้ที่ได้ :  คติสอนใจ คือ จากก้าวเล็กๆ ที่เติบโตสู่ก้าวที่มุ่งมั่นสั่งสอน (ตอบแทน) มอบความรู้แก่นักเรียนเหมือนอดีตที่เคยได้รับ  และเทคนิคในการเรียนภาษาอังกฤษ ที่ไม่ยากอย่างที่คิด ถ้ารู้เทคนิคในการจำ
     รางวัลที่ได้รับ :  1. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการ "เข็มเสมาคุณูปกา" ประจำปี 2554
                                  2. รางวัลโล่ห์เกียรติคุณบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร
                                  3. 1 ใน 16 คนดัง ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำความคิดของเยาวชนในโครงการ Big Idea, Big Idol โดย สวทช.
                                 4. 1 ใน 9 หญิงเก่ง จาก 9 อาชีพ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี นิตยสารกุลสตรี
                                 5. รางวัล Oh! My Hero: ฮีโร่รุ่นใหญ่หัวใจกู้โลก จาก เครือข่ายเยาวชนและเครื่อข่ายอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก (V - REACE R & DTC) ทั้ง 6 สถาบัน
     จุดเด่น :  ผู้ร่วมก่อตั้ง  Enconcept E-Academy  และผู้คิดค้น Magicores (Memolody, Strategic Structure และ Tree Tactics) เป็นวิธีการเรียนรู้แนวบันเทิงศึกษา-Edutainment สอนเด็กนักเรียนมัธยมปลายให้สนุกและรักการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านบทเพลง